สังคมมนุษย์มีการพัฒนาการในทุกๆด้าน ตั้งแต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อ ฯลฯ ตลอดจนการสร้างระเบียบแบบแผนของการสื่อความหมายจนกลายเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication Process) โดยเริ่มต้นจากการสื่อสารระหว่างบุคคลไปสู่บุคคล ระหว่างบุคคลไปสู่กลุ่มชน โดยอาศัยภาษา ท่าทาง คำพูด ภาษาเขียน ภาษารูปภาพ ภาษาสัญลักษณ์ หรือวัสดุกราฟิกต่างๆ องค์ประกอบของการสื่อความหมายกราฟิก มีหลายองค์ประกอบด้วยกันดังนี้ : ผู้ส่งสาร : การเปลี่ยนรูปจากความคิด : การส่งสาร : ตัวสาร : ช่องการส่งสาร : สภาวการณ์ของการสื่อสาร : สิ่งรบกวน : การรับสาร : การแปลงสัญญาณ : ผู้รับ : การย้อนกลับ
สังคมมนุษย์มีการพัฒนาการในทุกๆด้าน ตั้งแต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อ ฯลฯ ตลอดจนการสร้างระเบียบแบบแผนของการสื่อความหมายจนกลายเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication Process) โดยเริ่มต้นจากการสื่อสารระหว่างบุคคลไปสู่บุคคล ระหว่างบุคคลไปสู่กลุ่มชน โดยอาศัยภาษา ท่าทาง คำพูด ภาษาเขียน ภาษารูปภาพ ภาษาสัญลักษณ์ หรือวัสดุกราฟิกต่างๆ
ภาพแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในการสื่อความหมาย ผู้ส่งสาร (Originator) เป็นผู้เริ่มส่งข่าวสารต่างๆ ไม่เพียงด้วยคำพูด แต่รวมไปถึงสีหน้า ท่าทาง และทัศนะของผู้ส่งสารด้วย การเปลี่ยนรูปจากความคิด หรือ นามธรรมเป็นคำพูด (Encoding) การแปลงความคิด และความรู้ให้เป็นคำพูด, รูปภาพ, สัญลักษณ์, ท่าทาง หรืออื่นๆที่ผู้รับสามารถเข้าใจความหมายได้ การส่งสาร (Transmission) ส่งให้เหมาะสมกับสารที่ได้เปลี่ยนรูปผ่านสื่อ (Media) หรือช่องทางการส่ง (Channels) การส่งสารของมนุษย์มี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ คลื่นแสงกับคลื่นเสียง ซึ่งรับรู้ได้ทางหู (Audio) ทางตา (Visual) การส่งสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนใหญ่จะทำให้เกิดการรับรู้ได้ 2 ด้าน คือ Audio และ Visual เช่นกัน มนุษย์มีการเรียนรู้ และรับรู้ทางการมองเห็น 83% การได้ยิน 11% และที่เหลือเป็นกลิ่น, รส และสัมผัส ตัวสาร (Message) คือ เนื้อหาของสารที่ต้องการผู้รับสารได้รับ และนำมาเปลี่ยนรูป (Encoding) ให้พร้อมในการส่งต่อหรือถ่ายทอด (Transmission) ไปสู่ผู้เรียน สื่อ และช่องการส่งสาร (Media และ Channels) สารจะถูกส่งทางช่องทางการส่งสาร (Channels) ที่มีอยู่ในตัวสื่อ (Media) ประเภทต่างๆ สภาวการณ์ของการสื่อสาร (Communication Climate) การสื่อสารจะให้ประสิทธิผลสูง ถ้าสิ่งแวดล้อมของผู้ส่งสาร และผู้รับสารคล้ายกัน สิ่งรบกวน (Interference) สิ่งรบกวนหรือ สอดแทรกนอกจากจะทำให้การสื่อสารขาดหาย ไม่ชัดเจนแล้ว อาจทำให้ความหมายของสารผิดไปด้วย การรบกวนนั้นเกิดได้ทั้งในระบบการสื่อสารให้รับรู้ด้วยการเห็น และการฟังโดยคลื่นเสียงกับคลื่นแสงถูกรบกวน การรับสาร (Reception) การรับรู้ของมนุษย์รับจากระบบประสาทสัมผัส ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีอวัยวะภายในที่สามารถรับความร้อน เย็น เจ็บปวด และผ่อนคลายได้อีกด้วย เมื่อการส่งสารจากภายนอก (Interpersonal Communication) มาถึงประสาทรับรู้ การส่งสารภายใน (Intrapersonal Communication) จะเกิดขึ้นโดยสมองทำหน้าที่ควบคุม้ การแปลงสัญญาณ (Decoding) เมื่อได้รับสารแล้วสมองทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากสิ่งที่ได้รับ เช่น คำพูด หรือรูปภาพ เป็นความคิดหรือสัญลักษณ์ และเก็บไว้ในสมอง ผู้รับ หรือจุดหมายปลายทาง (Responder หรือ Destination) ผู้รับหรือปลายทางรับรู้ แล้วตอบกลับ (Feedback) ไปให้ผู้ส่งสาร จะทำให้การสื่อสารสมบูรณ์ครบวงจร การย้อนกลับ (Feedback) การมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระบบการสื่อสารภายในมนุษย์ หรือระบบการรับสัมผัสของประสาท และระบบการสื่อสารภายนอกของมนุษย์
หลักการสื่อความหมายกราฟิกนั้นก็คือ การนำเอาสื่อวัสดุกราฟิกในรูปแบบต่างๆนั้นมาสื่อความหมายตามองค์ประกอบของการสื่อความหมายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น