|
|
|
คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้เพื่อการผลิตวัสดุกราฟิกชนิดต่างๆ มากมาย เช่น กราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพที่ได้ออกมานั้นดูดี น่าสนใจ สื่อความหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพต่างๆเหล่านี้ก็มีหลากหลายโปรแกรม เช่น Photoshop, Image Ready, Ulead Cool 3D, PowerPoint, Dreamweaverฯลฯ ซึ่งเราสามารถที่จะนำโปรแกรมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตวัสดุกราฟิกชนิดต่างๆได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานนำเสนอ (Presentation), ภาพ 2 มิติ, ภาพ 3 มิติ และภาพเคลื่อนไหว โดยจะแนะนำตัวอย่างชิ้นงานต่าง ๆ ดังนี้
|
จะเป็นการนำโปรแกรม PowerPoint มาใช้ในงานนำเสนอ Master Page Presentation โดยการกำหนดสไลด์ในโปรแกรม PowerPoint ให้เป็นหน้า Master โดยการออกแบบหน้าที่ต้องการให้เป็นหน้า Master > ไปที่เมนูรูปแบบ > ออกแบบแม่แบบก็จะได้แบบมาสเตอร์ที่ต้องการ และถ้าต้องการแก้ไขหน้า Master ให้ไปที่เมนูมุมมอง > ต้นแบบ > ต้นแบบภาพนิ่ง > และแก้ไขหน้า Master ได้ตามต้องการ
Master Page นี้เป็นการกำหนดรูปแบบที่จะแสดงทุกครั้งในการนำเสนองาน โดยมีสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ แนวคิดหลัก หรือโลโก้ของหน่วยงาน รูปแบบของพื้นหลังที่ปรากฏอยู่ในทุกๆเฟรม และในการออกแบบงานนำเสนอในโปรแกรมนี้ควรนำเสนอในส่วนของหัวเรื่อง หรือเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญ คำจำกัดความ โดยมีเนื้อหาน้อย แต่ใช้การพูดบรรยายมาก คนจะฟังมากกว่าอ่าน ดังนั้นในการนำเสนอเนื้อหาไม่ควรใช้อักษรยิงทีละตัว ควรเป็นข้อความออกมาเป็นชุดๆ หรือประโยค ซึ่งในการออกแบบมีหลักการดังนี้
1. ข้อความที่นำเสนอควรเป็นข้อความที่เป็น Concept
2. ขนาดของตัวอักษรไม่ควรเล็กเกินไป
3. จำนวนข้อความที่นำเสนอในแต่ละหน้าไม่ควรเกิน 8 บรรทัด
4. ตัวอักษรไม่ควรเป็นแบบที่อ่านยาก หรือมีลักษณะรบกวนผู้ดู และควรคำนึงถึงจิตวิทยาในการอ่านหนังสือ จะอ่านเป็นชุดของข้อความ
5. การใช้เสียงประกอบไม่ควรใช้มาก
6. การวิ่งของตัวอักษร ควรวิ่งจากทางขวามือมา หรือวิ่งขึ้นมาจากข้างล่าง ไม่ควรวิ่งจากซ้ายมาขวา หรือบนลงล่าง
7. เรื่องของสีไม่ควรใช้เกิน 2-3 สี
8. ตัวอักษรและพื้นที่ไม่ควรเกิน 10 คู่สี
9. มีการเชื่อมโยงของหัวข้อ และการเชื่อมโยงของเนื้อหา
|
|
|