1. วัสดุ 2 มิติ
2. วัสดุ 3 มิติ
3. งานการออกแบบโดยใช้องค์ประกอบ
4. งานการออกแบบโดยใช้หลักการออกแบบ
5. 3D Logo
6. Master Page Presentation
7. 3D Animation
8. Photo Retouching
9. CD Cover

   คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้เพื่อการผลิตวัสดุกราฟิกชนิดต่างๆ มากมาย เช่น กราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพที่ได้ออกมานั้นดูดี น่าสนใจ สื่อความหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพต่างๆเหล่านี้ก็มีหลากหลายโปรแกรม เช่น Photoshop, Image Ready, Ulead Cool 3D, PowerPoint, Dreamweaverฯลฯ ซึ่งเราสามารถที่จะนำโปรแกรมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตวัสดุกราฟิกชนิดต่างๆได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานนำเสนอ (Presentation), ภาพ 2 มิติ, ภาพ 3 มิติ และภาพเคลื่อนไหว โดยจะแนะนำตัวอย่างชิ้นงานต่าง ๆ ดังนี้
    ในปัจจุบันเราสามารถทำการสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเราต้องการใช้มันก็จะมีซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่เรียกว่า เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูและค้นหาเอกสารในระบบอินเทอร์เน็ตที่เป็นเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
     ในการสร้างเว็บเพจต่าง ๆ มีโปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างเว็บ ได้แก่ Macromedia Dreamweaver, Microsoft FrontPage, Allaire HomeSite เป็นต้น ซึ่งในการออกแบบเว็บที่ดี จะช่วยให้การสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และทำให้ผู้เข้ามาชมกลับมาดูทุกครั้งเมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต
    ข้อแนะนำในการทำเว็บไซต์
1. เลือกเนื้อหา
2. โครงสร้างของเว็บไซต์
3. ทุกคนดูได้ และดูดี
4. ความเร็วในการโหลดเว็บ
5. ง่ายในการค้นหาข้อมูล
6. ตัวอักษร ฉากหลัง สี
7. รูปภาพ
8. ส่วนประกอบที่เว็บไซต์ขาดไม่ได้
9. ก่อนเผยแพร่เว็บไซต์
10. หลังจากเว็บไซต์ถูกเผยแพร่แล้ว (Publish)


    1. เลือกเนื้อหา
    ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มทำเว็บไซต์ เนื้อหาต้องน่าสนใจ และต้องมีผู้เข้าชมอยู่แล้ว เช่น เว็บไซต์ขององค์กร เกม ดารา แต่ถ้าสำหรับบุคคลที่เริ่มต้นทำควรเลือกเนื้อหาที่ตนสนใจ จะทำให้การทำงานเกิดความสนุกในการทำ และได้ความรู้ไปในตัว
 
ภาพแสดงตัวอย่างเว็บเพจของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ :     http://www.dailynews.co.th/

 
ภาพแสดงตัวอย่างเว็บเพจการวางเนื้อหา media reports  :     http://www.kmgi.com/
up
    2. โครงสร้างของเว็บไซต์
    การจัดโครงสร้างของเว็บไซต์นี้จะช่วยให้ผู้ชมสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ โดยจะต้องพิจารณาถึง
         กลุ่มผู้ชม ซึ่งมีอยู่หลากหลายกลุ่ม และแต่ละกลุ่มก็มีพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลที่แตกต่างกันด้วย
         การจัดกลุ่มของข้อมูลที่กระจัดกระจาย ให้รวมหัวข้อย่อยต่างๆให้อยู่ในหัวข้อหลัก โดยมีจุดมุ่งหมายให้จำนวนข้อหลักน้อยที่สุด เพราะฉะนั้นอาจตัดหัวข้อย่อยออกบางข้อเพื่อความเหมาะสม
         การจัดไฟล์ และไดเรกทอรี ก็จะช่วยให้การดูแลรักษา และการตรวจสอบความผิดพลาดของเว็บเพจง่ายขึ้น
    ขั้นตอนในการออกแบบโครงสร้าง
         จัดกลุ่มของข้อมูล ควรจำแนกข้อมูลต่างๆออกเป็นกลุ่มๆอย่างชัดเจน และนำหัวข้อต่างๆเหล่านั้นมาจัดเป็นกลุ่มอีกครั้งเพื่อให้เลือกกลุ่มหลักที่แท้จริงออกมา 4-7 กลุ่ม และควรใช้ข้อความที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งทำให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าใจหัวข้อของกลุ่มได้ทันที เช่น About Us, Products & Services, Pricing, Job Opportunities, Contact Us เป็นต้น
         ลำดับความสำคัญของเนื้อหาโดยเรียงเนื้อหาตามลำดับความสำคัญของเนื้อหาว่ากลุ่มใดเป็นกลุ่มหลัก กลุ่มใดเป็นกลุ่มรอง และส่วนใดบ้างจะป็นเนื้อหาเพื่อสะดวกในการออกแบบ จัดความสัมพันธ์ของแต่ละหน้าเว็บเพจ ข้อมูลต่าง ๆ
         จัดความสัมพันธ์ของแต่ละเว็บเพจ ถ้าเว็บไซต์มีขนาดไม่ใหญ่ก็สามารถจัดกลุ่มข้อมูลเป็นแบบรากต้นไม้ได้ แต่ถ้าข้อมูลมีจำนวนมากเราอาจใช้ ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) เข้ามาช่วยในการเชื่อมโยงจากเว็บเพจหนึ่งไปยังอีกเว็บเพจหนึ่งซึ่งไฮเปอร์ลิงก์ มีการเชื่อมโยงทั้งแบบ รูปภาพ และตัวอักษรหรือเรียกว่า (Hypertext) ซึ่งจะมีลักษณะของคำเป็นขีดเส้นใต้ หรือตัวหนา และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆของเว็บไซต์ได้ หรือจะเป็นเว็บไซต์อื่นก็ย่อมได้
         ปรับความสมดุลของไซต์ คือ การจัดกลุ่มข้อมูลต่างๆให้มีความเหมาะสมกับการเข้าถึงข้อมูลของผู้ชมที่ต้องอยู่บนรากฐานของความสะดวก และมีประสิทธิภาพ
up
    3. ทุกคนดูได้ และดูดี
    ในการจัดทำเว็บไซต์ควรที่จะจัดทำให้สามารถดูได้ทุกๆ เวอร์ชั่นของซอฟแวร์ต่างๆ เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer ฯลฯ แต่ส่วนใหญ่เบราเซอร์ที่ใช้เป็นจำนวนมากจะเป็น Netscape Communicator และ Internet Explorer ในการทำให้เว็บไซต์สามารถดูได้ทุกเบราเซอร์นี้จะทำให้ไม่จำกัดผู้ชมเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ในเรื่องของการออกแบบ เช่น สีที่ใช้, เฟรม, Style Sheet} Cookie} Java} JavaScript และ Plug-ins ที่อาจทำให้ผู้ชมเห็นเว็บไซต์ต่างไป

    4. ความเร็วในการโหลดเว็บ
    ความเร็วในการโหลดเว็บก็เป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง ผู้เข้าชมไม่ควรใช้เวลานานเกินไปในการโหลดเว็บไซต์ ปัจจัยที่กระทบต่อความเร็วได้แก่
         ขนาดของรูปภาพ และจำนวนของรูปภาพที่ใช้ ขนาดของรูปไม่ควรเกิน 20-30 K ต่อรูป ประเภทของรูปควรเป็น GIF หรือ JPEG ถ้าภาพมีขนาดใหญ่ให้ทำการตัดให้มีขนาดเล็กลง หรือใช้ตารางในการจัดภาพนั้นๆ แต่ก็ไม่ควรมากเกินไปเพราะจะทำให้โหลดเว็บช้า
         ปริมาณตัวอักษรที่อยู่บนหน้านั้นๆ ถ้ามีเนื้อหามากจะทำให้การโหลดเว็บช้า เพราะฉะนั้นควรตัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลด และทำให้ผู้ชมอ่านง่ายยิ่งขึ้น
         เซอร์เวอร์ที่เว็บนั้นๆอยู่ต้องดูว่ามีความสามารถสูงเพียงใดในการโหลดเว็บ
 
ภาพแสดงเว็บเพจที่ใช้ระบบแคช (Cache) เข้ามาช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดภาพ media reports  :     http://www.google.com/
up
    5. ง่ายในการค้นหาข้อมูล
    ความง่ายในการค้นหาข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเว็บไซต์ ตั้งแต่การสร้างโครงสร้าง และการจัดกลุ่มของข้อมูล นอกจากนี้การมี Navigator bar หรือแถบนำทางในทุกๆหน้าของเว็บ และสามารถให้บริการ Search หรือบริการช่วยค้นหาได้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
 
ภาพแสดงตัวอย่างเว็บเพจที่ให้บริการช่วยค้นหา  :     http://www.yahoo.com/
up
    6. ตัวอักษร ฉากหลัง สี
    ในการใช้สีบนตัวอักษร หรือบนฉากหลัง รวมถึงการใช้รูปเป็นฉากหลัง มีส่วนสำคัญกับการมองเห็นของผู้เข้าขมเว็บไซต์นั้นๆด้วย สีของตัวอักษร และฉากหลังควรใช้ 10 คู่สีที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นมาใช้
    ส่วนประเภทของตัวอักษร ควรใช้เป็นสากลนิยม เช่น ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอาจใช้ Arial หรือ Times ส่วนภาษาไทยอาจใช้ Angsana หรือ MS Sana Serif การเลือกใช้ภาษาไทยต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้าในเครื่องของผู้เข้าชมไม่มีตัวอักษรนั้นก็จะไม่สามารถอ่านได้
    ในการจัดวางรูปแบบข้อความควรจัดให้เหมาะสมกับปริมาณของเนื้อหา ซึ่งรูปแบบการจัดได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของตัวอักษรที่ใช้ในการออกแบบ และในกรณีที่เว็บเพจมีรายละเอียดมาก จำนวนตัวอักษรในแต่ละบรรทัดอาจช่วยให้ผู้ชม อ่านรายละเอียดได้ง่ายขึ้น โดยใช้ตารางแบ่ง 2-3 แถว แต่ไม่ควรให้แต่ละบรรทัดสั้นเกินไป จะทำให้อ่านแล้วไม่เข้าใจ
 
ภาพแสดงตัวอย่างเว็บเพจที่มีการใช้ตารางเข้ามาช่วยในการจัดข้อความ  :     http://www.sanook.com/
up
    ฉากหลังที่ใช้ ไม่ควรใช้ฉากหลังที่เด่นเกินตัวอักษรที่อยู่บนเว็บ เพราะจะทำให้อ่านยาก และอาจทำให้อ่านยาก
    ส่วนการใช้โทนสีโดยรวมนั้นขึ้นอยู่กับกลุ่มของผู้ชม และต้องคำนึงถึงการใช้โทนสีในงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เช่น ถ้าต้องการพัฒนาเว็บไซต์เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สินค้า ก็จะต้องใช้โทนสีของผลิตภัณฑ์นั้นๆเป็นสีบังคับอยู่แล้ว เช่น สีของผลิตภัณฑ์ Coca Cola เป็นสีแดง สีที่บังคับใช้ก็คือโทนสีแดง เป็นต้น

    7. รูปภาพ
    รูปภาพที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภท คือไฟล์ GIF และ JPEG ซึ่งได้กล่าวถึงแล้วในข้างต้น นอกจากนี้ในการเลือกรูปภาพมาใช้ควรคำนึงถึงความเร็วในการโหลดภาพด้วย
    ในบางเว็บไซต์จะทำเป็นแกลเลอรี (Gallery) รูปภาพ ควรมีการทำภาพเล็กๆ เพื่อเชื่อมโยงไปยังภาพใหญ่ เรียกว่า Thumb การทำเช่นนี้จะช่วยให้โหลดภาพได้เร็วขึ้น และสามารถเห็นภาพคร่าวๆว่ารูปภาพเป็นอย่างไร และจะเป็นการดีถ้าให้รายละเอียดของไฟล์ และขนาดของรูปภาพนั้นๆไว้ด้วย

    8. ส่วนประกอบที่เว็บไซต์ขาดไม่ได้
    ส่วนประกอบนั้น คือ หัวข้อเกี่ยวกับตัวผู้จัดทำ บริษัท อาจเป็นประวัติความเป็นมา หรือข้อมูลปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ข้อมูลในเว็บไซต์ของเราน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถทำการติดต่อกันได้ เมื่อผู้ชมมีปัญหาใดๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อกลับมาได้เป็นต้น

    9. ก่อนเผยแพร่เว็บไซต์
    ก่อนที่จะทำการอัปโหลด (Upload) เว็บไซต์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ ควรทดสอบการใช้เว็บเบราเซอร์ทั้ง Nescape Communicator และ Internet Expolorer ว่าความเร็วในการโหลดใช้เวลาเร็ว หรือช้าเพียงใด ตรวจความถูกต้องของตัวอักษร และลิงก์ (Link) ทั้งภายในภายนอก รวมถึงตรวจ Resolution ต่างๆกันด้วย พยายามทดสอบให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น

    10. หลังจากเว็บไซต์ถูกเผยแพร่แล้ว (Publish)
    สิ่งที่ควรทำหลังจากเว็บไซต์ถูกเผยแพร่แล้ว คือ
         ทดสอบเหมือนกับก่อนที่จะทำการเผยแพร่อีกครั้ง
         สำรวจ ปรับปรุง และดูแลเว็บไซต์
         ควรมี Feedback ตอบกลับไปสำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมที่ให้ข้อแนะนำต่าง ๆ
up
    สรุป   จากตัวอย่างงานต่างๆที่ได้ยกตัวอย่างข้างต้น พร้อมทั้งข้อคิด ข้อสังเกตในการออกแบบชิ้นงานนั้นๆ จะใช้โปรแกรมกราฟิกต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการทำชิ้นงานต่างๆ รวมถึงการใช้ทั้งองค์ประกอบ และหลักในการออกแบบมาใช้ในการสร้างชิ้นงานต่างๆ เพื่อการสื่อความหมายที่ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของผู้จัดทำ
    นอกจากนี้ถ้าผู้เรียนต้องการเรียนรู้เทคนิคในการใช้โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ เพิ่มเติมสามารถคลิ้กเพื่อดู Website ที่เกี่ยวข้องได้ใน Weblink
  แบบฝึกหัด
 
1. วัสดุ 2 มิติ
2. วัสดุ 3 มิติ
3. งานการออกแบบโดยใช้องค์ประกอบ
4. งานการออกแบบโดยใช้หลักการออกแบบ
5. 3D Logo
6. Master Page Presentation
7. 3D Animation
8. Photo Retouching
9. CD Cover