1. โหมดสีในงานคอมพิวเตอร์
2. การเกิดสี และภาพบนจอคอมพิวเตอร์

    รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิกที่ใช้ในการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงนั้น มีหลายประเภทด้วยกัน และที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ
    GIF   (Graphics Interchange Format)
    JPEG   (Joint Photographic Experts Group)
    PNG   (Portable Network Graphics)

รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิก แบ่งได้ดังต่อไปนี้ :
                 3.1. GIF     :     3.2. JPEG     :     3.3. PNG

3.2. JPEG


    JPEG ออกเสียงว่า เจ-เป็ก หรือ เจ-เพ็ก มีนามสกุลเป็น ".jpg หรือ .jpeg" JPEG เป็นไฟล์ภาพกราฟิกที่สามารถบีบอัดข้อมูลได้มากที่สุด และภาพที่ได้ก็ยังคงดีอยู่ ในการใช้งานไฟล์ภาพ JPEG หรือจะทำการแปลงไฟล์จากภาพชนิดอื่นมาเป็น JPEG นั้น ถ้าต้องการความละเอียดของภาพสูง ขนาดของไฟล์ภาพก็ใหญ่ขึ้นตามความละเอียดของภาพนั้นๆ ไปด้วย

รูปคุณภาพสูงที่ได้จากการใช้อัตราการบีบอัดต่ำ ร่องรอยที่เกิดขึ้นกับการบีบอัดข้อมูลในอัตราสูงทำให้ได้รูปที่มีคุณภาพต่ำมาก
    วิธีบีบอัดข้อมูลในไฟล์ JPEG จะทำให้สูญเสียรายละเอียดบางส่วนของภาพไป แต่ข้อมูลที่เสียไปนี้จะสังเกตได้ไม่ชัดนัก ถ้าไม่ใช้อัตราการบีบอัดมากเกินไป
    เมื่อคุณภาพของรูปลดลงจากการบีบอัดข้อมูลของ JPEG แล้ว จะไม่สามารถทำให้คุณภาพที่สมบูรณ์นั้นกลับมาสมบูรณ์เหมือนดังเดิมได้ การใช้ภาพแบบ JPEG นั้น สามารถสร้างภาพแบบ Progressive JPEG ซึ่งเป็นภาพที่ค่อยๆถูกแสดงจากหยาบๆ ไปเป็นละเอียดที่สุดได้ คล้ายๆกับ Interlaced GIF
    ลักษณะและรูปภาพที่เหมาะสมกับไฟล์นี้ คือ ภาพถ่าย หรือ รูปที่มีสีต่อเนื่องกัน อย่างเช่น ภาพวาด ภาพสีน้ำ และรูปที่ประกอบไปด้วยสีเทาหลายระดับ
 
  GIF   :    JPEG   :    PNG   :    แบบฝึกหัด
  โหมดสีในงานคอมพิวเตอร์ รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิก