1. โหมดสีในงานคอมพิวเตอร์
2. การเกิดสี และภาพบนจอคอมพิวเตอร์

    รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิกที่ใช้ในการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงนั้น มีหลายประเภทด้วยกัน และที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ
    GIF   (Graphics Interchange Format)
    JPEG   (Joint Photographic Experts Group)
    PNG   (Portable Network Graphics)

รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิก แบ่งได้ดังต่อไปนี้ :
                 3.1. GIF     :     3.2. JPEG     :     3.3. PNG

3.3. PNG (Portable Network Graphics)


    PNG เป็นไฟล์ภาพที่เกิดขึ้นมาที่จะใช้แทน GIF เนื่องจากไฟล์ PNG นั้นได้เกิดขึ้นมาจากการพัฒนา โดยคณะกรรมการอินเตอร์เน็ต โดยมีแนวคิดที่สามารถให้ทุกคนใช้ได้ฟรี ซึ่งต่างกับ GIF ที่ไม่ฟรี เนื่องจาก PNG ถูกพัฒนาขึ้นมาแทน GIF จึงมีลักษณะเด่นกว่า GIF หลายประการ ดังคำกล่าวของกรภัทร์ (2543: 11-12) กล่าวว่า
ลักษณะเด่นของไฟล์ PNG คือ
 สามารถบีบอัดข้อมูลได้มากกว่า GIF ถึง 10-30%
 สามารถทำภาพโปร่งใสได้ และสามารถปรับระดับความโปร่งใสได้ ซึ่ง GIF ทำไม่ได้
 Interlaced PNG ทำงานได้เร็วกว่า Interlaced GIF
 PNG มี Gamma Correction ซึ่งปรับแต่งความสว่างของภาพได้
 PNG สามารถเซฟไฟล์ในรูปแบบของสีธรรมชาติ (True Color) หรือ 16 ล้านสีได้ ในขณะที่ GIF สามารถเซฟสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น

    แต่สิ่งที่ PNG ยังทำได้ไม่เหมือน GIF คือ PNG ไม่สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ เพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ในไฟล์เดียวกันได้
 
  GIF   :    JPEG   :    PNG   :    แบบฝึกหัด
  โหมดสีในงานคอมพิวเตอร์ รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิก