1. ความหมายของการสื่อความหมาย
2. องค์ประกอบของการสื่อความหมาย

ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

         1. แบบง่าย                               3. เข้าใจง่าย                             5. ขนาดเหมาะสม
         2. อ่านง่าย                               4. กระทัดรัด

การจำแนกประเภทและวัสดุกราฟิก แบ่งได้ดังนี้ :
3.1 แผนสถิติ : 3.2 แผนผัง หรือแผนภาพ : 3.3 แผนภูมิ : 3.4 ภาพโปสเตอร์ : 3.5 การ์ตูน :
3.6 แผนที่ และลูกโลก : 3.7 รูปภาพวาดลายเส้น : 3.8 ภาพถ่ายลายเส้น : 3.9 ภาพถ่ายฮาล์ฟโทน
 

3. แผนภูมิ (Charts)
      แผนภูมิสร้างขึ้นเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ แสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลโดยใช้รูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษร ตัวเลข และเส้นประกอบ โดยประเภทของแผนภูมิแบ่งได้ 9 ประเภท ดังนี้

  แผนภูมิต้นไม้      แผนภูมิสายธาร      แผนภูมิต่อเนื่อง      แผนภูมิองค์การ      แผนภูมิเปรียบเทียบ      แผนภูมิตาราง      แผนภูมิอธิบายภาพ      แผนภูมิวิวัฒนาการ      แผนภูมิขยายส่วน     

3.3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Chart)
        แผนภูมิแบบนี้ ใช้ในกรณีที่ต้องการแสดงให้เห็น หรือบอกให้รู้ว่าของสิ่งหนึ่งนั้นสามารถแยกเป็นส่วนย่อยอะไรได้บ้าง
 
แผนภูมิแบบต้นไม้             
    ตัวอย่างของแผนภูมิต้นไม้ที่นำไปใช้งาน เช่น แสดงว่าอาหารที่เราควรบริโภคมีทั้งหมด 5 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน หรือพืช ให้ประโยชน์อะไรแก่มนุษย์ได้บ้าง หรือการคมนาคมมีกี่ทาง แผนภูมิประเภทนี้จึงเหมาะกับเนื้อหาที่อยู่ในรูปของการวิเคราะห์
Up
 3.3.2 แผนภูมิแบบสายธาร (Stream Charts)
        แผนภูมิแบบนี้จะเริ่มจากการเกิดแม่น้ำสายต่างๆ เกิดจากแม่น้ำสายใหญ่ที่แตกเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ

 
แผนภูมิแบบสายธาร              
    แผนภูมิชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับแสดงองค์ประกอบย่อยรวมกันเข้าเป็นองค์ประกอบใหญ่ เช่น แสดงให้เห็นว่า ไข่ ยีสต์ เนย นม เป็นส่วนผสมของขนมปัง หรืแบคทีเรียกับน้ำตาลทำให้เกิดกรดที่ทำลายฟัน
Up
3.3.3 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Chart)
        เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่เป็นไปอย่างมีขั้นตอน มีความต่อเนื่องกัน หรือเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นตามลำดับขั้น เช่น วงจรชีวิตของยุง
 
แผนภูมิแบบต่อเนื่อง          
Up
3.3.4 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Chart)
        เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของสายงานภายในองค์การ หน่วยงาน หรือระหว่างหน่วยงานกับองค์การ และหน่วยย่อย
 
แผนภูมิแบบองค์การ                             
        ลักษณะเด่นของแผนภูมิประเภทนี้คือ ใช้บล็อกสี่เหลี่ยม แล้วใช้เส้นทึบโยงความสัมพันธ์และใช้เส้นไข่ปลาแสดงถึงหน่วยงานพิเศษ หรือหน่วยงานที่กำลังจะก่อตั้ง หรือหน่วยงานที่จะมีในอนาคต
Up
 3.3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparison Chart)
        เป็นแผนภูมิที่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง รูปร่าง ขนาด ลักษณะ แนวความคิด เช่น เป็ด ไก่
 
แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ                         
        ลักษณะเด่นของแผนภูมิประเภทนี้คือ นิยมใช้รูปภาพ แผนภาพ แสดงลักษณะที่แตกต่างกัน เฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้ดูดูแล้วจะเข้าใจทันที
Up
3.3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tubular Charts)
        แผนภูมิแบบนี้จะบรรจุข้อมูลได้มาก โดยจะแบ่งเป็นตารางเรียงเป็นแถวยาวลงมา และส่วนที่ใส่ไว้มักเป็นคำสั้นๆ หรือตัวเลข
 
แผนภูมิแบบตาราง         
        การอ่านข้อมูลจะดูที่ความสัมพันธ์ของข้อมูลในแนวตั้ง และแนวนอน
Up
3.3.7 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Explanation Chart)
        ใช้แสดง ชี้แจง อธิบายส่วนต่างๆ โดยมีภาพและคำอธิบายประกอบสั้นๆ ด้วยการโยงเส้นจากคำอธิบายมาสู่จุดที่ต้องการบอกในภาพ
 
แผนภูมิแบบอธิบายภาพ                 
Up
3.3.8 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Revolution Chart)
        ใช้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆจากอดีตถึงปัจจุบัน และอาจถึงอนาคต เป็นการติดต่ออย่างไม่ขาดตอนในช่วงเวลาอันยาวนาน เช่น วิวัฒนาการของการคมนาคม
 
แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ          
Up
3.3.9 แผนภูมิแบบขยายส่วน (Enlarging Chart)
        ใช้แสดงให้เห็นส่วนที่ไม่ชัดเจน โดยแยกหรือตัดออกจากรูปเดิม และขยายออกให้มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ดูสามารถเห็นได้ชัดเจน
 
แผนภูมิแบบขยายส่วน         
Up
  แผนภูมิต้นไม้      แผนภูมิสายธาร      แผนภูมิต่อเนื่อง      แผนภูมิองค์การ      แผนภูมิเปรียบเทียบ      แผนภูมิตาราง      แผนภูมิอธิบายภาพ      แผนภูมิวิวัฒนาการ      แผนภูมิขยายส่วน     
 
แผนสถิติ : แผนผัง หรือแผนภาพ : แผนภูมิ : ภาพโปสเตอร์ : การ์ตูน :
แผนที่ และลูกโลก : รูปภาพวาดลายเส้น : ภาพถ่ายลายเส้น : ภาพถ่ายฮาล์ฟโทน : แบบฝึกหัด

   ความหมายของการสื่อความหมายกราฟิก  องค์ประกอบของการสื่อความหมาย