Home Sitemap www.kmithnb.ac.th
 
 
      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
      ประวัติความเป็นมา
      แขนงการเขียนทัศนียภาพ
      ทัศนียภาพแบบบรรยากาศ
      ทัศนียภาพแบบเส้น

   แขนงการเขียนทัศนียภาพ
   การแสดงทัศนียภาพแยกออกได้เป็น 2 แขนง คือ
      1. ทัศนียภาพแบบบรรยากาศ
          (Aerial Perspective)
      2. ทัศนียภาพแบบเส้น
          (Linear Perspective)
 


   ทัศนียภาพแบบบรรยากาศ (Aerial Perspective)
       แบบบรรยากาศนั้น หมายถึงการแสดงสิ่งของที่แลเห็นอยู่ในระยะใกล้ไกลตามที่ปรากฏจากบรรยากาศ กล่าวคือ ตามธรรมดานั้นของที่อยู่ใกล้ก็แลเห็นได้ชัดเจนกว่าสิ่งของที่อยู่ไกล ยิ่งไกลออกไปก็ยิ่งแลเห็นลางเลือนเข้าทุกที ดังเช่นเรามองดูภูมิภาพอันหนึ่งซึ่งเป็นภูเขาสลับซับซ้อนออกไปข้างหลัง ภูเขาที่อยู่ใกล้ก็แลเห็นได้ชัด ลูกที่อยู่ห่างออก ไปก็ลางเลือนกว่า และลูกที่อยู่ไกลสุดก็แลเห็นเพียงเงาลาง ๆ พอเป็นรูปตัดกับขอบฟ้าเท่านั้น ความชัดเจนหรือความลางเลือนของสิ่งของในระยะต่าง ๆ เหล่านี้ เกิดจากบรรยากาศที่มีฝุ่น และละอองน้ำปนอยู่ ทำให้แสงที่สะท้อนมาจากระยะไกลหักเหไปทางอื่นเสียเป็นส่วนมากน้อยแล้วแต่ระยะทางใกล้ไกล ปรากฏการณ์เช่นนี้เรานำมาใช้ในการแสดงแบบสถาปัตยกรรมได้โดยใช้สีอ่อนแก่หนักเบา ระบายลงบนรูปด้านที่เขียนขึ้น ก็อาจทำให้เห็นระยะใกล้ไกลได้ตามสมควร เพราะลำพังรูปด้านเดียวที่เป็นการเขียนแบบ สัมม-เลขาไม่อาจแลเห็น หรือรู้สึกถึงระยะใกล้ไกลได้
 
 


    ทัศนียภาพแบบเส้น (Linear Perspective)
       วิธีแบบเส้นนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่กับระดับผืน หรือเส้นขอบของสิ่งของเหล่านั้นเป็นเกณฑ์ และวิธีเขียนภาพลายเส้นนี้เป็นวิธีที่สถาปนิกสนใจในการใช้แสดงแบบของตนมากกว่าวิธีแรก และคำบรรยายต่อไปนี้ก็จะได้กล่าวเฉพาะวิธีเส้นนี้เท่านั้น การถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายรูปก็ไม่ใช่อื่นไกลนอกจากการฉายภาพของสิ่งของให้ไปปรากฏลงบนแผ่นฟิล์ม เช่นเดียวกับการฉายภาพของสิ่งของในความคิดให้ไปปรากฏลงบนกระดาษเขียนแบบ และเพื่อให้ผู้ศึกษาได้มีโอกาสทำความเข้าใจในข้อเปรียบเทียบนี้ ขอให้พิจารณาศึกษาจากภาพประกอบแล้วเปรียบเทียบกัน
 

ประวัติความเป็นมา : แขนงการเขียนทัศนียภาพ : ทัศนียภาพแบบบรรยากาศ : ทัศนียภาพแบบเส้น :
แบบทดสอบระหว่างบทเรียนบทที่ 1
  ประวัติความเป็นมา