Home Sitemap www.kmithnb.ac.th
 
 
      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
      หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบจุดเดียว
      หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบสองจุด
      หลักการเขียนเงาในทัศนียภาพ

 
      
  หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบจุดเดียว (One-point Perspective)
  ตัวอย่างการเขียนทัศนียภาพ ตามหลักวิธีการเขียนแบบ
1. สร้างเส้น PP. เพื่อกำหนดขอบเขตของภาพ
2. กำหนดแปลนที่จะใช้สร้างภาพ Perspective โดยให้
    วางอยู่ที่ระดับเส้น PP.
3. กำหนดจุดที่จะมองภาพ SP.
4. กำหนดเส้นระดับสายตา HL. ในภาพ
5. กำหนดเส้นระดับพื้นของภาพ GL.ลงในภาพ
6. กำหนดจุดสุดสายตา VP โดยการลากเส้นจากจุดมองภาพ
    SP. ไปตัดที่เส้นแผ่นภาพ PP. แล้วจึงลากเส้นดิ่งจากจุด
    ติดที่เกิดขึ้นลงไปตัดที่เส้นระดับสายตา HL. จะได้จุด VP.
    ที่ต้องการ
7. กำหนดรูปด้านมาวางด้านข้างของภาพ Perspective
8. รูปด้านที่จะใช้สร้างภาพ Perspective โดยให้วางอยู่
    ในระดับเส้นพื้นภาพ GL.
9. ลากเส้นดิ่งจากรูป Plan ของภาพ ลงมาตัดที่เส้นพื้นภาพ
    GLจะได้แนวความกว้างของภาพ Perspective ด้านหน้า
10. ลากเส้นจากจุด VP. ไปตัดกับจุดตัดแนวความกว้าง
      ของภาพที่ได้เป็นระนาบของภาพ
11. ลากเส้นขนานจากรูปด้านไปติดกับขนาดความกว้างที่ได้
      ของภาพ Perspective จะได้ความสูงของภาพ
12. ลากเส้นจากจุดมองภาพ SP. ไปยังจุดที่เหลือด้านท้ายของ
      รูปแปลน จะได้จุดตัดที่เส้น PP. เพื่อใช้ถ่ายระดับเป็นความ
      ยาวของภาพ Perspective
13. ลากเส้นถ่ายระดับจากข้อ 12 ลงมา ตัดกับแนวระนาบ
      ของเส้น VP. แนวที่เป็นระนาบของภาพในข้อ 10.
14. เมื่อได้จุดตัดจากเส้นระนาบของ VP ตัดกับเส้นแนวดิ่ง
      ทั้งหมดแล้วจึงเขียนเส้นจริงทับรอบรูป


หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบจุดเดียว : หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบสองจุด :
หลักการเขียนเงาในทัศนียภาพ : แบบทดสอบระหว่างบทเรียนบทที่ 7
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบสองจุด