Home Sitemap www.kmithnb.ac.th
 
 
      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
      หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบจุดเดียว
      หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบสองจุด
      หลักการเขียนเงาในทัศนียภาพ

 
      
  หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบสองจุด (Two-point Perspective)
  การหาภาพทัศนวิทยาวัตถุวางทำมุมกับ PP.
ANGULAR PERSPECTIVE (TWO POINT VANISHING)
1. กำหนดเว้นแผ่นภาพ PP. ลงในภาพ
2. วางรูปแปลนที่จะใช้อ้างอิงแนวภาพ Perspective
    ให้อยู่บนระดับเส้น PP.
3. กำหนดเส้นพื้นบนภาพ GL. ลงในภาพ
4. กำหนดจุดมองภาพ SP. ลงในภาพ
5. กำหนดเส้นระดับสายตา HL. ลงในภาพ
6. ลากเส้นจากจุมองภาพ SP ไปตัดที่เส้นแผ่นภาพ
    PP. เพื่อกำหนดขอบเขตการมอง
7. ลากเส้นดิ่งจากจุดตัดที่เกิดขึ้นจากข้อ 6 ลงมาตัด
    ที่เส้น HL. ในแนวดิ่ง เพื่อให้เกิดจุด VP.
8. ลากเส้นดิ่งจากจุดมุมของแปลนตั้งฉากกับเส้นพื้น GL.
     เพื่อกำหนดเป็นเส้นแนวหลักด้านหน้า
9. กำหนดจุดวางรูปด้าน โดยวางให้ขนานบนเส้นพื้น GL.
10. ลากเส้นระนาบจากจุดมองภาพ SP ไปยังจุดมุมที่เหลือ
      ของภาพแปลนโดยจะเกิดจุดตัดที่เส้น PP.
11. ลากเส้นจากจุด VP. ไปตัดกันกับแนวเส้นดิ่งหลักที่ลากจาก
      มุมหลักของแปลนที่ตั้งฉากตัดกับเส้น GL.
12. ลากเส้นถ่ายแนวระดับจากจุดตัดที่เหลือบนเส้น PP.
      ลงมาเป็นแนวดิ่งตั้งฉากลงมาตัดกับแนวระดับเส้น VP.
      ที่ถ่ายระดับมาก่อนแล้ว จะได้แนวความกว้างยาว
13. ลากเส้นแนวระดับจากจุด VP. ไปยังจุดตัดภาพ
      Perspective ที่เกิดจากแนวดิ่งจากข้อ 12.
14. ถ่ายระดับความสูงจากรูปด้านข้างมาตัดกับเส้นหลัก
      ของภาพ Perspective
15. เมื่อได้ความสูงจากการถ่ายระดับเส้นหลักแล้ว ถ่ายระดับ
      จากจุด VP. ไปสู่แนวตัดระดับความสูงที่เหลือจะได้ความ
      กว้าง และยาว
16. เมื่อได้ความสูงทั้งหมดและความกว้างยาวในแนวด้านหน้า
      แล้ว ลากเส้นจาจุด VP. ไปตัดที่แนวเส้นตั้งความสูงที่ได้
      จากข้อ 15. จะได้เส้นรอบรูปทั้งหมด


หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบจุดเดียว : หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบสองจุด :
หลักการเขียนเงาในทัศนียภาพ : แบบทดสอบระหว่างบทเรียนบทที่ 7
หลักการวาดภาพทัศนียภาพแบบจุดเดียว หลักการเขียนเงาในทัศนียภาพ