|
|
|
การออกแบบกราฟิกเพื่อการสื่อความหมาย จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 9 ประการ คือ เส้น, รูปร่าง, รูปทรง, ขนาด, ทิศทาง, ที่ว่าง, ลักษณะผิว, ความเข้ม และสี ผู้ที่ทำการออกแบบจะต้องศึกษาองค์ประกอบ
ในการออกแบบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะนำมาใช้ในงานออกแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม และมีคุณค่าในทางศิลปะ
องค์ประกอบในการออกแบบ แบ่งเนื้อหาได้ดังนี้ :
|
|
2.7. ลักษณะพื้นผิว (Texture)
เป็นการแสดงลักษณะพื้นผิวของรูปร่าง หรือรูปทรงต่างๆ ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งผิวนอกของสิ่งต่างๆที่มีลักษณะต่างๆกัน ทั้งที่มีลักษณะผิวหยาบ ผิวขรุขระ ผิวด้าน ผิวละเอียด และผิวมัน ซึ่งเราสามารถรับรู้สิ่งเหล่านี้ได้ด้วยการสัมผัส และทางตา
พื้นผิวที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เช่น พื้นผิวของกระดาษทราย พื้นผิวของกระจก พื้นผิวของโลหะ ผ้าที่มีพื้นผิว หรือ ปักเป็นลวดลายต่างๆ ฯลฯ
การออกแบบต้องให้มีการผสมผสานของรูปทรง และลักษณะพื้นผิวให้มีความสัมพันธ์กัน ด้วยสัดส่วนที่พอดี หรืออาจจะพิจารณาความสัมพันธ์ของรูปร่าง และประโยชน์ใช้สอยก็ได้
เลอสม (2537: 70-76) ได้แบ่งผิวสัมผัสที่สำคัญออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผิวสัมผัสที่รับรู้ได้ด้วยตา (Visual Texture) ผิวสัมผัสที่รับรู้ได้ด้วยตา คือ ลักษณะงาน 2 มิติ ที่รู้สึกได้จากการมองเห็นด้วยตา อันเป็นผลมาจากการสะท้อนของแสง การดูดซึมแสงของผิวพื้นนั้น ความแตกต่างของผิวสัมผัส ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าจะสัมผัสได้ด้วยมือ ซึ่งเมื่อสัมผัสแล้วกลับไม่มีความแตกต่างตามที่เห็น
2. ผิวสัมผัสที่สัมผัสได้ด้วยมือ (Tactile Texture) ผิวสัมผัสประเภทนี้ไม่เพียงแต่มองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยมือ (Tactile Texture) จะเป็นผิวสัมผัสที่มีระดับสูงกว่างานออกแบบที่สัมผัสผิวสัมผัสได้ด้วยตา (Visual Texture) ซึ่งเป็นงาน 2 มิติ ผิวสัมผัสที่สัมผัสได้ด้วยมือนี้เป็นภาพนูนต่ำ (Bas Relief) ระดับงาน 3 มิติ
|
|
|