3.1. จังหวะ (Rhythm)
จังหวะเป็นหลักการหนึ่งของการออกแบบซึ่งมีพื้นฐานมาจากการซ้ำกัน (Repetition) จังหวะเป็นการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบรวมเข้าไว้ด้วยกัน
นพวรรณ (2540: 173-178) ได้แบ่งจังหวะออกเป็น 3 ชนิดคือ
3.1.1.
จังหวะที่ซ้ำกัน (Repetition Rhythm)
คือ
วิธีการเน้นอย่างหนึ่งที่ต้องการให้เห็นชัดเจน โดยใช้เส้น
รูปร่าง รูปทรง มาจัดวางลงในกรอบพื้นที่มากกว่าหนึ่งครั้ง
โดยมีระยะเคียงเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ การสร้างภาพให้ดูกลมกลืน
และเป็นจังหวะ ถ้าหน่วยของรูปทรงมีขนาดใหญ่ และใช้จำนวนน้อย
งานออกแบบจะดูง่าย ท้าทาย แต่ถ้าใช้รูปทรงเล็กจำนวนมาก จะให้ความรู้สึกเป็นผิวสัมผัส
เลอสม
(2537: 89-91) ได้กล่าวถึงการสร้างภาพด้วยวิธีการทำซ้ำได้หลายวิธีดังนี้
|
การซ้ำด้วยรูปร่าง (Shape) รูปร่างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบ ถ้ารูปร่างซ้ำกัน
ยังคงสร้างความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบ
ได้ด้วย ขนาด สี และผิวสัมผัส |
|
|
การซ้ำด้วยขนาด (Size) การสร้าง
รูปทรงให้มีขนาดเท่าๆกัน
มักจะเป็นไปได้ที่รูปทรงนั้นมีรูปร่างซ้ำหรือรูป
ร่างคล้ายคลึงกัน |
|
|
การซ้ำด้วยสี (Color) รูปทรงทุกรูปมีสีเหมือนกัน แต่จะแตกต่างในเรื่องของรูปร่าง
และขนาด |
|
|
การซ้ำด้วยผิวสัมผัส (Texture) มีผิวสัมผัสเหมือนกัน แต่อาจจะมีรูปร่าง
ขนาด และสีแตกต่างกัน |
|
|
การซ้ำด้วยทิศทาง (Direction) การสร้างภาพให้มีทิศทางซ้ำกันนั้น
จะทำได้ต่อเมื่อรูปทรงแต่ละรูปแสดงให้เห็น และรู้สึกถึงทิศทางของรูปทรงชัดเจน |
|
|
การซ้ำด้วยตำแหน่ง (Position) การจัดรูปทรงให้มีตำแหน่งซ้ำนั้น จะต้องสัมพันธ์กับโครงสร้างของภาพ รูปทรงแต่ละรูปอาจจะเว้นระยะห่างเท่า ๆ
กันทุกทิศทางจากกรอบย่อยของโครงสร้าง |
|
|
การซ้ำด้วยที่ว่าง (Space) รูปทรงทุกรูปจะครอบคลุมที่ว่าง
เช่นเดียวกันทั้งหมด (Positive Form) หรือพื้นภาพโดยรอบรูปทรงนั้นจะถูกครอบคลุม
โดยเว้นพื้นที่ว่างเป็นรูปทรงไว้ (Negative Form) |
|
|
การซ้ำด้วยแรงดึงดูด (Gravity) การซ้ำวิธีนี้ค่อนข้างยากที่จะแสดงได้ว่า
รูปทรงต่างๆ มีแรงดึงดูดในภาพเท่ากันให้
ความรู้สึก หนักหรือเบา มั่นคงหรือไม่มั่นคงเท่ากัน ยกเว้น การจัดวางองค์ประกอบอยู่
ในลักษณะซ้ำที่ไม่มีการแปรเปลี่ยน |
|
3.1.2.
จังหวะที่สลับกัน (Alternation Rhythm)
คือจังหวะของสองสิ่ง หรือมากกว่าซึ่งสลับกันไปมาเป็นช่วงๆ เป็นลักษณะที่ทำให้ไม่เห็นการซ้ำเด่นชัดมากเกินไป ทำให้มีลักษณะแปลกออกไปอีกแบบหนึ่ง เช่น 1,1,2,2,1,1,..........etc ดังภาพตัวอย่าง
|
|
ภาพแสดงจังหวะที่สลับกัน
1,1,2,2,1,1 |
3.1.3.
จังหวะที่ต่อเนื่องกัน (Continuous Rhythm)
คือการจัดช่วงจังหวะให้มีความต่อเนื่องกัน จังหวะแบบนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปเรื่อยๆ โดยมีสี ค่าน้ำหนักของสี หรือพื้นผิวเป็นตัวแปร ดังภาพตัวอย่างดังนี้
|
ภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันทำให้เกิดระยะใกล้ไกลขึ้น |
|
ภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันโดยที่แผ่น
CD ค่อยๆขยายจากเล็กมาใหญ่ |
|
|
|