|
|
หลักการออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบศิลปะ คือ การนำเอา เส้น รูปทรง ค่าของน้ำหนัก สี และพื้นผิว มาจัดวางลงในที่ว่าง ส่วนประกอบของการออกแบบได้มาปรากฏตัวอยู่ในที่ว่าง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นในเรื่องของการสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นในที่ว่างของภาพ ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบทางรูปธรรม และยังมีองค์ประกอบทางนามธรรม ซึ่งหมายถึงเนื้อหาสาระอีกส่วนหนึ่งด้วย และในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการออกแบบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะ
หลักการออกแบบประกอบด้วย :
|
|
3.3. ความกลมกลืน (Harmony)
ความกลมกลืน หมายถึงการประสานให้กลมกลืน เป็นพวกเป็นหมู่ให้เกิดความเหมาะเจาะสวยงาม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน
วัฒนะ (2527: 111) ได้แบ่งความกลมกลืนในการออกแบบแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
3.3.1.
การออกแบบให้เส้นมีทิศทางที่กลมกลืนกันไปในทางเดียวกัน(Harmony
of Direction) ซึ่งแบ่งออกเป็น
การออกแบบให้เส้นกลมกลืนกันในแนวทแยง (Diagonal Direction)
|
ภาพแสดงความกลมกลืนกันของเส้นทิศทาง ในแนวทแยงของ
ชั้นโชว์สินค้า ซึ่งเป็นไปในแนวทแยงเหมือนกันหมด |
|
การออกแบบให้เส้นกลมกลืนกันในแนวราบ (Horizontal Direction)
|
ภาพแสดงความกลมกลืนกันทิศทางการวาง
ของเส้นในแนวราบเหมือนกันหมด |
|
การออกแบบให้เส้นกลมกลืนในแนวโค้ง (Curved Direction)
|
ภาพแสดงความกลมกลืนของเส้นในแนวโค้ง
ซึ่งในภาพจะมีลักษณะของเส้นขอบตาบนเป็น
เส้นแนวโค้งเหมือนกันหมด |
|
3.3.2.
การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยรูปร่าง (Harmony of Shape) คือการออกแบบให้มีรูปร่าง
ขนาดใกล้เคียงกัน หรือมีรูปร่างเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน
|
ภาพแสดงความกลมกลืนกันด้วยรูปร่างของบอลลูน ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกันหมด
จะแตกต่างก็ตรงที่สี |
|
3.3.3.
การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยขนาด (Harmony of Size)
|
ภาพแสดงความกลมกลืนด้วยขนาด ซึ่ง
ในภาพหมวกพลาสติกที่วางเรียงกันอยู่
จะมีขนาดเท่ากันหมดทุกใบ แต่มีสีที่
แตกต่างกัน |
|
3.3.4.
การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยสี (Harmony of Colors)
|
ภาพแสดงความกลมกลืนของสีซึ่งจะมีสีอยู่ในโทนสีเดียวกันหมด
จะใช้เทคนิคการลด หรือเพิ่มค่าของสีเท่านั้น |
|
3.3.5.
การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยลักษณะผิว (Harmony of Texture)
|
ภาพแสดงลักษณะความกลมกลืนกันด้วยผิวสัมผัส
ซึ่งในภาพจะมีลูกกอล์ฟด้วยกัน 3 ลูก ซึ่งทั้ง 3 ลูกนี้จะมีลักษณะของผิวสัมผัสที่เหมือนกันทั้งหมด |
|
|