|
|
หลักการออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบศิลปะ คือ การนำเอา เส้น รูปทรง ค่าของน้ำหนัก สี และพื้นผิว มาจัดวางลงในที่ว่าง ส่วนประกอบของการออกแบบได้มาปรากฏตัวอยู่ในที่ว่าง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นในเรื่องของการสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นในที่ว่างของภาพ ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบทางรูปธรรม และยังมีองค์ประกอบทางนามธรรม ซึ่งหมายถึงเนื้อหาสาระอีกส่วนหนึ่งด้วย และในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการออกแบบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะ
หลักการออกแบบประกอบด้วย :
|
|
3.4. การตัดกัน (Contrast)
การตัดกัน หมายถึง ความไม่ประสานสัมพันธ์กัน หรือสิ่งที่ตรงข้ามกัน การนำความแตกต่างกันมาใช้ในงานศิลปะ มาใช้อย่างพอเหมาะจะช่วยแก้ปัญหาความน่าเบื่อหน่ายในงานนั้นๆได้ และนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความเบื่อหน่ายแล้วยังช่วยให้เกิดความตื่นเต้น เด่นชัด น่าสนใจขึ้นอีกด้วย การตัดกันจะตรงข้ามกับความกลมกลืน เราสามารถทำให้เกิดความตัดกันในองค์ประกอบได้หลายทาง วัฒนะ (2527: 114) ได้กล่าวไว้ดังนี้
วัฒนะ (2527: 111) ได้แบ่งการตัดกันในการออกแบบแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
3.4.1.
การตัดกันด้วยเส้น (Line Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันด้วยเส้น ซึ่งในภาพนี้จะมีลักษณะของเส้นต่างๆ
ซึ่งไม่มีความเหมือนกันเลยแม้แต่เส้นเดียว |
|
3.4.2.
การตัดกันด้วยรูปร่าง (Shape Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันด้วยรูปร่าง
ซึ่งในภาพนี้จะมีลักษณะของหน้าจอโทรทัศน์ ที่เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสนำมาจัดวางรียงๆกัน
และมีรูปร่าง วงรีวางไว้ตรงกลาง ซึ่งทำให้เกิดการตัดกันของรูปร่าง
และทำให้รูปทรงวงรี นี้โดดเด่นขึ้นมาจากรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางเรียงรายกันอีกด้วย |
|
3.4.3.
การตัดกันด้วยรูปทรง (Form Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันของรูปทรงในภาพ มีหลอดสีซึ่งมีรูปทรงเหมือนกันหมด
แต่จะมีรูปทรงของเมาส์ ที่มีความ แตกต่างออกมาซึ่งก็ทำให้เมาส์เป็นรูป
ทรงที่เด่นขึ้นออกมาจากกลุ่มหลอดสีที่มีรูปทรงเหมือนกันหมด |
|
3.4.4.
การตัดกันด้วยขนาด (Size Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันด้วยขนาด
ในภาพจะเป็นรูปรถบัส และรถตู้ที่มีขนาดแตกต่างกันดังภาพ |
|
3.4.5.
การตัดกันด้วยทิศทาง (Direction Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันด้วยทิศทาง
ซึ่งฝ่ายชายจะหันหน้า และชี้ปลายเท้าไปในทิศทางตรงกันข้ามกับฝ่ายหญิง |
|
3.3.6.
การตัดกันด้วยสี (Color Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันด้วยสี
ในภาพจะใช้สีแดง และสีเขียวซึ่งเป็นสีที่ตรงข้ามกันในวงจรสี
การใช้สีตรงข้ามกันในวงจรสีเป็นวิธีการเลือกสีมาให้เกิดความตัดกัน
มาโนช (2526: 124) การใช้สีตรงข้ามนี้ ควรใช้สีหนึ่งจำนวน
80ฺ% ส่วนอีกสีตรงข้ามเพียง 20%ของจำนวนสีทั้งหมดของพื้นที่ผลงาน
ที่ใช้หลักการของสีตรงข้ามเข้าไปช่วยทำให้งานนั้นดูมีชีวิตชีวาไม่น่าเบื่อ |
|
7. การตัดกันด้วยค่าความเข้ม (Value Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันด้วยความเข้ม
โดยใช้ค่าความเข้มระดับที่ 1 และ 9 จาก Value
Keys ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความมืด และความสว่างในพื้นภาพ
ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความเข้ม |
|
8. การตัดกันด้วยลักษณะผิวสัมผัส (Texture Contrast)
|
ภาพแสดงการตัดกันของผิวสัมผัส ในภาพวงรี 2 รูปมีผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน |
|
|