4.1. รูปแบบตัวอักษร
ในการเลือกตัวอักษรที่เหมาะสมจะช่วยให้งานออกแบบกราฟิกนั้น สื่อความหมายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบตัวอักษรตัวพิมพ์มากมาย พงษ์ศักดิ์ (2544 : 52-56)อาจแบ่งได้ดังนี้
4.1.1.
ตัวอักษรแบบมีเชิง
เป็นอักษรที่มีเส้นยื่นของฐานและปลายตัวอักษรในทางราบที่เรียกว่า
Serif ลักษณะตัวอักษรจะมีเส้นตัวอักษรเป็นแบบหนาบางไม่เท่ากัน
ตัวอักษรแบบนี้บราวเซอร์หลายชนิดจะใช้ ตัวอักษรแบบนี้เป็นหลัก
เช่น Times New Roman, Garamond, Georgia และ New Century Schoolbook
ตัวอักษรประเภทนี้เหมาะจะใช้เป็นรายละเอียดเนื้อหา แต่ตัวอักษรประเภทนี้ไม่ค่อยเหมาะจะใช้กับตัวหนา
(bold)
|
|
แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบมีเชิง
(Serif) |
4.1.2.
ตัวอักษรแบบไม่มีเชิง (Sans Serif)
เป็นลักษณะของตัวอักษรอีกแบบหนึ่งที่รูปแบบเรียบง่าย เป็นทางการ
ไม่มีเชิง หมายถึงไม่มีเส้นยื่นออกมาจากฐาน และปลายของตัวอักษรในทางราบ
ได้แก่ Arial, Helvetica, Verdana, Geneva และ Univers ตัวอักษรประเภทนี้เหมาะที่จะใช้กับหัวข้อหรือ
ตัวอักษรขนาดใหญ่ แต่ไม่เหมาะสมกับลักษณะเอียง
|
|
แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบไม่มีเชิง
(Sans Serif) |
4.1.3.
ตัวอักษรแบบตัวเขียน (Script)
ตัวอักษรแบบนี้เน้นให้ตัวอักษรมีลักษณะคล้ายกับการเขียนด้วยลายมือ
ซึ่งมีหางโยงต่อเนื่องระหว่างตัวอักษร มีขนาดเส้นอักษรหนาบางแตกต่างกัน
นิยมทำให้เอียงเล็กน้อย
|
|
แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบตัวเขียน
(Script) |
4.1.4.
ตัวอักษรแบบตัวอาลักษณ์ (Text Letter)
เป็นตัวอักษรแบบโรมันแบบตัวเขียนอีกลักษณะหนึ่ง มีลักษณะเป็นแบบประดิษฐ์มีเส้นตั้งดำหนา
ภายในตัวอักษรมีเส้นหนาบางคล้ายกับการเขียนด้วยพู่กัน หรือปากกาปลายตัด
|
|
แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบตัวอาลักษณ์
(Text Letter) |
4.1.5.
ตัวอักษรแบบประดิษฐ์ (Display Type)
หรือตัวอักษรตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ การออกแบบตกแต่งตัวอักษรให้สวยงามเพื่อดึงดูดสายตา
มีขนาดความหนาของเส้นอักษรหนากว่าแบบอื่นๆ จึงนิยมใช้เป็นหัวเรื่อง
|
|
แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบประดิษฐ์
(Display Type) |
4.1.6.
ตัวอักษรแบบสมัยใหม่ (Modern Type)
เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้น มีลักษณะเรียบง่าย
|
|
แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบสมัยใหม่
(Modern Type) |
|