1. การสร้างภาพในงานกราฟิก
2. องค์ประกอบในการออกแบบ
3. หลักการออกแบบ

   ตัวอักษรมีความสำคัญมากต่อการผลิตวัสดุกราฟิก เพราะตัวอักษรจะทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูล สาระที่ต้องการนำเสนอด้วยรูปแบบและการจัดวางตำแหน่งตัวอักษรที่สวยงาม ชัดเจน อ่านง่าย น่าสนใจ สวยงาม ลักษณะของตัวอักษรจึงถูกกำหนดตามการนำไปใช้
การเลือกตัวอักษรให้เหมาะสมกับงานกราฟิก มีหลักการดังนี้ :
4.1. รูปแบบตัวอักษร  :   4.2. ลักษณะและขนาดตัวอักษร  :   4.3. ระยะช่องไฟและการจัดวางตัวอักษร
4.2. ลักษณะและขนาดตัวอักษร
    ลักษณะของตัวอักษร (Type Character)
    จากรูปแบบตัวอักษรที่หลากหลาย การสร้างแบบอักษรก็ยังมีความแตกต่างที่หลายรูปแบบ ทำให้มีลักษณะเฉพาะของตัวอักษรเปลี่ยนแปลงไป เช่น
        ตัวเอน (Italic)
        ตัวธรรมดา (Normal)
        ตัวบางพิเศษ (Extra Light)
        ตัวแคบ (Condensed)
        ตัวบาง (Light))
        ตัวหนา (Bold)
        ตัวเส้นขอบ (Outline)
        ตัวหนาพิเศษ (Extra Bold)
        ตัวดำ (Black)
  แสดงลักษณะตัวอักษรแบบต่าง ๆ
    ขนาดของตัวอักษร (Size Type)
       ขนาดของตัวอักษรเป็นการกำหนดขนาดที่เป็นสัดส่วนความกว้าง และสูงและรูปร่างของตัวอักษร โดยเอาความสูงเป็นหลักในการจัดขนาดเรียกว่า พอยต์ (Point) ขนาดตัวอักษรหัวเรื่องมักใช้ขนาดตั้งแต่ 16 พอยต์ขึ้นไป ส่วนขนาดของเนื้อหาจะใช้ขนาดประมาณ 6 พอยต์ถึง 16 พอยต์ แล้วแต่ลักษณะของงานนั้น ๆ
        12 พอยต์ = 1 ไพก้า
        6 ไพก้า = 1 นิ้ว (2.5 ซ.ม.)
        75 พอยต์ = 1 นิ้ว
       ขนาดทางราบหรือทางกว้างของตัวอักษร เมื่อเรียงกันไปเป็นคำหรือความยาวใน 1 บรรทัด หรือเรียกว่าเป็น "ความยาวคอลัมน์" จะกำหนดเป็นไพก้า (Pica)
 
4.1. รูปแบบตัวอักษร  :   4.2. ลักษณะและขนาดตัวอักษร  :   4.3. ระยะช่องไฟและการจัดวางตัวอักษร : แบบฝึกหัด
 
1. การสร้างภาพในงานกราฟิก 3. หลักการออกแบบ 4. ตัวอักษรและตัวพิมพ์