|
|
ตัวอักษรมีความสำคัญมากต่อการผลิตวัสดุกราฟิก เพราะตัวอักษรจะทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูล สาระที่ต้องการนำเสนอด้วยรูปแบบและการจัดวางตำแหน่งตัวอักษรที่สวยงาม ชัดเจน อ่านง่าย น่าสนใจ สวยงาม ลักษณะของตัวอักษรจึงถูกกำหนดตามการนำไปใช้
การเลือกตัวอักษรให้เหมาะสมกับงานกราฟิก
มีหลักการดังนี้ :
|
|
4.3. ระยะช่องไฟและการจัดวางตัวอักษร
ระยะช่องไฟของตัวอักษร (Spacing)
การจัดระยะช่องไฟตัวอักษรมีความสำคัญมาก
เนื่องจากถ้ามีการออกแบบที่เหมาะสม และสวยงามแล้วจะทำให้ผู้ดูอ่านง่าย
สบายตา ชวนอ่าน การจัดช่องไฟมีหลักการใช้อยู่ 3 ข้อดังนี้
1.
ระยะช่องไฟระหว่างอักษร (Letter Spacing)
เป็นการกำหนดช่องไฟระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว ที่จะต้องมีระยะห่างกันพองาม
ไม่ติดหรือห่างกันเกินไป เราควรจัดช่องไฟโดยคำนึงถึงปริมาตรที่มีความสมดุลโดยประมาณในระหว่างตัวอักษร
หรือเรียกว่า ปริมาตรความสมดุลทางสายตา
2.
ระยะช่องไฟระหว่างคำ (Word Spacing)
จะเว้นระยะระหว่างคำประมาณ 1 ตัวอักษรปกติ ถ้าห่างเกินไปจะทำให้อ่านยาก
และชิดเกินไปจะทำให้ขาดความงาม
3.
ระยะช่องไฟระหว่างบรรทัด (Line Spacing) ปกติจะใช้ระยะห่าง
0-3 พอยต์ หลักสำคัญในการกำหนดระยะระหว่างบรรทัดให้วัดส่วนสูง
และส่วนต่ำสุดของตัวอักษร เมื่อจัดวางบนบรรทัดแล้วต้องไม่ซ้อนทับกัน
|
ภาพแสดงระยะช่องไฟของตัวอักษร (Spacing) |
แบบการจัดตัวอักษร (Type Composition)
การจัดเนื้อหาของตัวอักษรมีการจัดด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
จัดชิดซ้าย
จะมีปลายด้านขวาไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากตัวอักษรในแต่ละบรรทัด
มีความยาวไม่เท่ากัน แต่ผู้อ่านก็ไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นของแต่ละบรรทัดได้ง่าย
จัดชิดขวา ถึงแม้รูปแบบการจัดตัวอักษรแบบนี้จะน่าสนใจ แต่จุดเริ่มต้นในแต่ละบรรทัดที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้อ่านยาก ผู้อ่านต้องหยุดชะงัก เพื่อหาจุดเริ่มต้นของแต่ละบรรทัด
จัดกึ่งกลาง จะใช้ได้ดีกับข้อมูลที่มีปริมาณไม่มากนัก และเหมาะกับรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น คำประกาศ หรือคำเชื้อเชิญ เป็นต้น
จัดชิดขอบซ้ายและขวา เมื่อจัดตัวอักษรแบบ justify จะมีพื้นที่ว่างเกิดขึ้นระหว่างคำ สิ่งที่ควรระวังคือ เกิดช่องว่าง ซึ่งจะรบกวนความสะดวกในการอ่าน แต่เป็นสิ่งยากที่จะหลีกเลี่ยง ในคอลัมน์ที่มีขนาดแคบ
|